ปรัชญาของคณะเทคนิคการแพทย์
ความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติงานของนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ พร้อมจิตสำนึกในการให้บริการ ด้านการตรวจวินิจฉัย บำบัดรักษา และป้องกันโรค ตลอดจนการส่งเสริมสุขภาพ และฟื้นฟูสมรรถภาพ จะเป็นหลักประกันอันอบอุ่น แก่ประชากรในสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
ปณิธานของคณะเทคนิคการแพทย์
คณะเทคนิคการแพทย์เป็นศูนย์กลางทางวิชาการ และงานวิจัย ตามแนวมาตรฐานวิชาชีพ และความเป็นสากล เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนโดยส่วนรวม บัณฑิตจากคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการฝึกฝนอบรมให้มีความรู้ความชำนาญในวิชาชีพ รู้จักขวนขวายหาความรู้ ด้วยตนเอง รู้หลักวิธีวิจัยเพื่อค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ มีนิสัยเอื้อเฟื้อ โอบอ้อมอารี มีจิตใจให้บริการ ตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และสังคม บุคลากรในคณะปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาคุณภาพของงาน และคุณภาพชีวิตที่ดีของตนเอง และผู้รับบริการ
อำนาจหน้าที่
คณะเทคนิคการแพทย์ มีหน้าที่ผลิตบัณฑิตเทคนิคการแพทย์ รังสีเทคนิค กิจกรรมบำบัด และกายภาพบำบัด ทำวิจัยค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ให้บริการวิชาการแก่สังคมทั่วไป เน้นชุมชนเป้าหมายในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ทำนุบำรุงและธำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของท้องถิ่น และประเทศไทย
วิสัยทัศน์ ค่านิยมและพันธกิจของคณะเทคนิคการแพทย์
วิสัยทัศน์
“คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถาบันชั้นนำ ในการผลิตองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านสุขภาพ เพื่อความยั่งยืนของสังคม”
พันธกิจ
คณะเทคนิคการแพทย์ปฏิบัติตามพันธกิจของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และคณะฯ ดังนี้
1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม คุณภาพ และมีทักษะการเป็นพลเมืองโลก
2. วิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ เพื่อส่งเสริมสุขภาพของชุมชนและสังคม
3. บริการวิชาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนด้านสุขภาพให้แก่ชุมชนและสังคม
4. สืบสานวัฒนธรรมล้านนา-ไทย และบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
5. บริหารจัดการองค์กรให้เป็นองค์กรที่มีสมรรถะสูงมีความเป็นดิจิทัสและเป็นสากลเพื่อให้เกิดผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศและบุคลากรมีความสุขและผูกพัน
เป้าหมายวิสัยทัศน์
1. ร้อยละของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ตีพิมพ์ผลงานภาคนิพนธ์ในวารสารวิชาการ หรือนวัตกรรมจัดอยู่ใน CMU-RL ตั้งแต่ระดับ 4 ขึ้นไป รวมแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ในระยะเวลา 5 ปี
2. ผลงานตีพิมพ์ของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาอยู่ในฐานข้อมูล SCOPUS ระดับ Q1 และ Q2 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของผลงานตีพิมพ์ทั้งหมด 5 ปี
3. อัตราส่วนของผลงานวิจัยต่ออาจารย์ประจำที่ตีพิมพ์ในวารสารในฐานข้อมูล SCOPUS เป็นอันดับ 1 หรือ 2 เมื่อเทียบกับคู่เทียบในรายสาขาวิชา ภายใน 5 ปี
4. นวัตกรรมหรือองค์ความรู้ที่นำไปใช้ต่อยอดในเชิงพาณิชย์โดยมีรายได้สะสม (accumulated income) ในช่วงปี 2566-2570 ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
5. ผลตอบแทนเชิงสังคม (SROI) ที่เกิดจากการบูรณาการองค์ความรู้ระหว่างสาขาวิชาชีพไม่น้อยกว่า 1,850 ล้านบาท
ค่านิยมองค์กร
I & I Together (Improvement & Innovation Together )
วัฒนธรรมองค์กร
"ร่วมกันทำพรุ่งนี้ให้ดีขึ้นด้วยนวัตกรรม" (Together we create a better tomorrow through innovations)
สมรรถนะหลัก (Core Competency) : "การบูรณาการความเชี่ยวชาญและองค์ความรู้ของสาขาวิชาชีพในคณะฯ ที่สามารถดูแลสุขภาพของคนทุกช่วงวัย"